วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 6

ชีวประวัติ คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ
ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล
ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง [3] ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง
การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่นๆ
การเขียนเรียงความ
คำนำ เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
สรุป เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น


ความรู้ใหม่
การเขียนคำกล่าวของประธานในพิธีเปิดและปิด
 คำกล่าวเปิดงานของประธานในพิธี จะมีสาระสำคัญเป็นขั้นตอนเรียงตามลำดับ ได้แก่ คำขึ้นต้น การแสดงความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาทำพิธีนี้ การแสดงการชื่นชม เห็นด้วย หรือสนับสนุน ในงานที่จัดขึ้น การแสดงความสำคัญของงาน การฝากข้อคิด ข้อแนะนำ หรือ ข้อสังเกต การแสดงความหวังว่างานจะเป็นประโยชน์  การขอบคุณผู้จัดและผู้สนับสนุนงาน การกล่าวเปิด และการอวยพรให้การดำเนินงานสำเร็จ รวมทั้งอวยพรแก่ผู้มาร่วมงาน
เช่นเดียวกัน คำกล่าวของประธาน ในพิธีปิดการฝึกอบรม ปิดการประชุม หรือปิดการสัมมนาจะมีสาระสำคัญเป็นขั้นตอน เรียงตามลำดับ เหมือนคำกล่าวของประธานในพิธีเปิด เพียงแต่เปลี่ยนจาก "เปิด" มาเป็น "ปิด" และเพิ่ม การแสดงความยินดี และพอใจในผลสำเร็จของการฝึกอบรม การประชุม หรือการสัมมนานั้น ดังนี้
  1. คำขึ้นต้น
 2. การแสดงความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาทำพิธีนี้
 3. การแสดงการชื่นชม เห็นด้วย หรือสนับสนุน
 4. การแสดงความสำคัญของงานที่จัดขึ้น
5. การฝากข้อคิด ข้อแนะนำ หรือ ข้อสังเกต
6. การแสดงความหวังว่างานนี้จะเป็นประโยชน์
 7. การขอบคุณผู้จัดและผู้สนับสนุนงานนี้
 8. การกล่าวเปิด
9. การอวยพรให้งานสำเร็จ และอวยพรแก่ผู้ร่วมงาน
ข้อเสนอแนะ

เพื่อนๆมีการนำเสนอที่น่าสนใจมากคะ เพื่อนๆนำเสนองานพร้อมกับให้ทำกิจกรรมที่เพื่อนๆนำทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆและความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี 55113400154

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อัตชีวประวัติ

อัตชีวประวัติ
ดิฉันชื่อ นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี ศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะครุศาสตร์ หลักสูตรการประถมศึกษา ชั้นปีที่2 อัตชีวประวัติเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวของดิฉันเอง เกิดขึ้นเมื่อวันพ่อ เมื่อวันที่5ธันวาคมเป็นวันพ่อแห่งชาติดิฉันจึงได้โอกาสทำสิ่งดีๆตอบแทนพ่อของดิฉันเอง ในวันนั้นดิฉันก็เกิดความคิดขึ้นว่าอยากจะทำอะไรให้พ่อสักอย่างเพื่อเป็นของขวัญในวันสำคัญ และอยากให้พ่อได้รู้ว่าลูกยังเห็นวันนี้เป็นวันสำคัญ ดิฉันจึงเลือกที่จะทำการ์ดวันพ่อ ที่มีรูปคู่ของพ่อกับดิฉันและบทความในใจที่ดิฉันกล่าวถึงพ่อทั้งข้อความขอโทษที่เคยดื้อและขอความอวยพรให้พ่อมีสุขภาพแข็งแรงอยู่กับครอบครัวไปนานๆและในวันนั้นยังไม่หมดแค่นี้ ดิฉันยังขับรถออกไปซื้อพวงมาลัยมากราบที่ตักของพ่อตอนที่มอบการ์ดและรับประทานอาหารกันอยู่ เมื่อพ่อของดิฉันเห็นการ์ดก็ถึงกับพูดไม่ออกและน้ำตาซึม เพราะดิฉันไม่ค่อยเคยทำอะไรแบบนี้ให้ท่านเลย นานๆทีจะบอกรักกันและมีโอกาสทำอะไรน่ารักๆด้วยกันเป็นภาพที่น่าประทับใจมากสำหรับวันนั้น ดิฉันจะจดจำและเก็บภาพความทรงจำนั้นไว้ตลอด
ชีวิตในอนาคตของดิฉันคือ ดิฉันอยากเป็นครูประถมเมื่อโตขึ้นและศึกษาจบดิฉันจะสอบบรรจุเข้ารับราชการและเป็นครูประถมตามที่ใฝ่ฝันไว้คะ


นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี 55113400154  

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการสะท้อนการเรียนรู็ครั้งที่ 4

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
ได้เรียนรู้จากการนำเสนอของเพื่อนๆ ดังนี้
1.อัตชีวประวัติ
(อังกฤษ: Autobiography) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสามคำ: “autos” แปลว่า ตนเองและคำว่า “βίος” หรือ “bios” แปลว่า ชีวิตและคำว่า “γράφειν” หรือ “graphein” แปลว่า เขียนเป็นเรื่องราวของบุคคลโดยเขียนขึ้นโดยบุคคลคนนั้นเอง โดยเนื้อหา อาจเล่าถึงชีวิตส่วนตัวที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน หรือ ไม่เคยถูกเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ชีวประวัติที่เขียนโดยเจ้าของชีวิต หรือในความหมายปัจจุบันหมายถึงประวัติที่ที่เขียนโดยเจ้าของชีวิตร่วมกับนักประพันธ์อาชีพในลักษณะบอกให้เขียน คำว่า อัตชีวประวัติใช้เป็นครั้งแรกโดย โรเบิร์ต ซัทธีย์ (Robert Southey) ในปี ค.ศ. 1809ในวรสารแต่ลักษณะการเขียนแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นักเขียนชีวประวัติมักจะเขียนประวัติจากเอกสารอ้างอิงต่างๆ และจากความคิดเห็นของตนเอง แต่นักเขียนอัตชีวประวัติเขียนจากความทรงจำของตนเอง ซึ่งใกล้เคียงกับบันทึกความทรงจำ (Memoir) ซึ่งบางครั้งแยกออกจากกันยาก
2.การเขียนวิจารณ์ 
การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ คือ กระบวนการเขียนที่ผู้เขียนนำเสนอสารผ่านการพิจรณาแยะแยะข้อมูลแล้ววิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย แล้วนำไปประเมินค่า เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
หลักการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์
การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์มีหลักการดังนี้
๑) ศึกษาเรื่องอย่างละเอียดอย่างถ่องแท้
๒) วิเคราะห์แยกแยะเนื้อหาเป็นส่วนๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
๓) วิเคราะห์เนื้อหาแล้วประเมินค่าว่ามีข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย หรือข้อบกพร่องอย่างไร
๔) วิจารณ์ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วไปประเมินค่าให้เห็นว่ามีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไร
๕) วิจารณ์ในทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
๖) เรียบเรียงความคิดที่วิเคราะห์วิจารณ์เป็นบทพูด ใช้คำที่มีความหมายกระชับตรงประเด็น
3.การเรียนเพื่อเล่าเรื่อง
การเขียนเล่าเรื่อง
  การเขียนเล่าเรื่องอาจเป็นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือเรื่องที่น่าสนใจ    การเขียนประเภทนี้ส่วนมากใช้บรรยายโวหารและมีอธิบายโวหารประกอบ   การเขียนเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่ต้องวางโครงเรื่องอย่างรัดกุมเช่นเดียวกับการเขียนประเภทอื่น    อาจกำหนดโครงเรื่องอย่างง่ายๆ เริ่มต้นจากคำนำ  หัวข้อเรื่องหรือลำดับเหตุการณ์  จนถึงบทสรุป   ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะสามารถเล่าสิ่งที่ต้องการให้ได้ดีที่สุดเท่านั้น
จุดประสงค์ในการเขียน
            ๑. เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
            ๒. เพื่อถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์และข้อคิดให้ผู้อื่นทราบ
            ๓. เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก  อารมณ์
            ๔. เพื่อเป็นคติสอนใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ลักษณะของการเล่าเรื่องที่ดี
            ๑. มีการเริ่มเรื่องดี
            ๒. มีรายละเอียดที่น่าสนใจ
            ๓. ประกอบด้วยตัวละคร  บุคคลหรือสิ่งที่น่าสนใจ
            ๔. เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ปกติธรรมดา
            ๕. มีจุดสุดยอดที่ตื่นเต้นเร้าใจ
            ๖.แทรกความขบขัน
            ๗. ทำให้เกิดความเข้าใจใคร่ติดตาม
            ๘. จบเรื่องเหมาะสม
วิธีการเขียนเล่าเรื่อง
            ๑. เตรียมเนื้อเรื่อง
                  ๑.๑ เลือกเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจ  และประทับใจผู้เล่ามากที่สุด
                  ๑.๒ เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่การนำเรื่องไปสู่เหตุการณ์ที่น่าประทับใจที่สุด    แล้วจบด้วยการสรุปเป็นข้อคิด  ข้อเตือนใจ  ข้อเสนอแนะหรือทิ้งให้คิด
                  ๑.๓ พิจารณาเนื้อเรื่องที่จัดละดับให้มีความสั้นยาวพอเหมาะกัน
                  ๑.๔ เลือกใช้สำนวนภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง

            ๒. กำหนดโครงเรื่องที่เตรียมไว้   โดยแยกเป็นส่วนคำนำ  เนื้อเรื่อง  สรุป
ความรู้ใหม่
ได้ความรู้ใหม่จากกิจกรรมที่เพื่อนๆนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งเนื้อหาและเกมส์
ข้อเสนอแนะ
ควรจัดสรรคเวลาในการนำเสนอให้ดูพอเหมาะกับความเนื้อหาและความสนใจของเพื่อนๆ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่3

ความรู้ที่ได้
ความหมายของการเขียน
 การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึกความรู้
 ลักษณะของภาษาเขียน
-ภาษาปาก / ภาษาพูด = ภาษาตลาด
-ภาษากึ่งแบบแผน = ภาษากึ่งทางการ
-ภาษาแบบแผน = ภาษาทางการ ภาษาราชการ
คำที่มีความหมายโดยตรง  หมายถึง  ความหมายที่ผู้ใช้เข้าใจกันโดยทั่วไป
ดังปรากฏอยู่ในพจนานุกรม  คำคำหนึ่งอาจมีความหมายเดียวหรือหลายความหมายก็ได้
      คำที่มีความหมายเดียว           
                  กลม     คือ       ทำให้กลม
                  กลาย   คือ       เปลี่ยนไป
      คำที่มีหลายความหมาย 
                  กก        -    กกไข่         กกไม้  ( โคนต้นไม้)    ต้นกก ( พืชชนิดหนึ่ง)
                  ด้วง     -    ตัวด้วง  ( ชื่อเรียกแมลงชนิดหนึ่ง  )
                              -    ซอด้วง  ( ชื่อเครื่องดนตรีประเภท ซอ )    
ลูกเสือ  -    ลูกเสือกำลังเดินทางไกล
     เขาซื้อลูกเสือมาเลี้ยง
                                    ดาว
                                                นักเรียนกำลังเรียนเรื่องดวงดาว
                                                น้องสากำลังนั่งดูดาวบนท้องฟ้า
                                    ผัด      
                                                ฉันชอบกินข้าวผัดกะเพรา
                                                ฉันไม่ชอบคนผัดวันประกันพรุ่ง
๒.    ความหมายโดยนัย  คือ  ความหมายที่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กัน ทั้งทางดีและทางไม่ดี  เช่น
                    พี่สาวเป็นดาวของมหาวิทยาลัย           ( หมายถึง  เป็นคนสวย)
                    วันนี้ฉันคงเป็นกระโถนแน่                  ( หมายถึง ผู้ที่ใคร ๆ พากัน
                                                                       รุมใช้   รุมว่า  อยู่คนเดียว )
                    เขาเป็นม้ามืดในการวิ่งแข่งขันครั้งนี้   ( ไม่ได้เป็นที่คาดหวังว่าจะชนะ)
ความรู้ใหม่
ที่มาของสำนวนที่ว่า ชักแม่น้ำทั้งห้า มาจากเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร
แม่น้ำทั้ง5นั้นคือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำ อจิรวดี แม่น้ำสรภูและ แม่น้ำมหิ
ข้อเสนอแนะ
อยากให้อาจารย์มีการเรียนการสอนที่สนุกสนานแบบนี้ทุกคาบเรียน

นางสาวเจนจิรา อร่ามศรี 55113400154 ตอนเรียน D1

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

สิ่งที่ได้เรียนรู้
 ภาษาไทยกับการเขียน
ภาษาคือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกบุ่มใดกลุ่มหนึ่งเช่นภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวง เช่น ภาษาทางราชการ ภาษากฎหมาย เป็นต้น
ภาษามีลักษณะทั่วไปคือ
1. ภาษาประกอบขึ้นด้วย เสียงและความหมาย
2.ภาษามีระบบระเบียบมีไวยกรณ์เฉพาะของแต่ละภาษา
3.ภาษาเกิดจากการเรียนรู้โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนด
4.ภาษามีประโยคไม่รู้จบ โดยอาศัยคำเชื่อมต่างๆ (แต่คำรู้จบ)
ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยแบ่งได้8ประเภท ดังนี้
1.ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง
2.ภาษาไทยเป็นคำโดด
3.ภาษาไทยส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมีความหมายสมบรูณ์ในตัว
4.คำเดียวอาจมีหลายความหมาย หลายหน้าที่ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต่างกัน
5.ภาษาไทยมีลักษณนาม
6.ภาษาไทยมีระบบเสียงสูงเสียงต่ำ คือ มีเสียงวรรณยุกต์
7.ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีชั้นเชิง คือ ระดับของคำ
8.คำภาษากวี เช่น การเล่นคำ
ความรู้ใหม่
การนำภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนไม่ได้ เช่น "อย่างงี้"เป็นภาษาพูดเมื่อนำมาเขียนจะต้องเขียน"อย่างนี้"
ภาษาพูดเป็นภาษาที่ผู้ใช้ ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการพูดนั่นเอง การพูดมีหลายรูปแบบทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ภาษาพูดควรคำนึงถึงความเหมาะสมของฐานะบุคคลและกาละเทศะ
ภาษาเขียนจะเป็นลายลักษณ์อักษรที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วยสาระที่นำมาอ้างอิงได้
ข้อเสนอแนะ
อยากให้อาจารย์สอนแบบนี้ทุกอาทิตเพราะว่าเรียนไปทำกิจกรรมไปทำให้มีความน่าสนใจในเนื้อหาและทำให้นักศึกษากระตือรือร้นตลอดเวลามีสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจมีการนำคลิปวีดีโอที่สอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียนมาสอนทำให้เกิดความรู้ใหม่คะ

นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี รหัส 55113400154 ตอนเรียน D1



วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่1

สิ่งที่ได้เรียนรู้
รูปแบบวิธีและเทคนิคการเรียนการสอน ตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบคอนสัตรักติวอสต์ มี5แบบ ดังนี้
1.การเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการเรียนที่ต้องมีการเผชิญหน้าระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้สอนจะให้ผู้เรียนปฎิบัติงานเป็นกลุ่ม
3.การสอนแบบนิรนัย เป็นการสอนแบบยกหลักการ
4.ผังความคิด เป็นการจัดลำดับความคิดทำให้ส่งผลต่อกระบวนการจำเป็นอย่างดี
5.การระดมสมอง เป็นการเขียนเชิงสร้างสรรค์
สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่
blogsopt คือ
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
อยากให้อาจารย์สอนไปทำกิจกรรมไปเพื่อจะได้ไม่เรียนแต่เพียงเนื้อหาได้มีเวลาทำกิจกรรมในชั้นเรียนควบคู่กันไปด้วยคะ
นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี รหัส 55113400154 ตอนเรียน D1