วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 6

ชีวประวัติ คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ
ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล
ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง [3] ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง
การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่นๆ
การเขียนเรียงความ
คำนำ เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
สรุป เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น


ความรู้ใหม่
การเขียนคำกล่าวของประธานในพิธีเปิดและปิด
 คำกล่าวเปิดงานของประธานในพิธี จะมีสาระสำคัญเป็นขั้นตอนเรียงตามลำดับ ได้แก่ คำขึ้นต้น การแสดงความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาทำพิธีนี้ การแสดงการชื่นชม เห็นด้วย หรือสนับสนุน ในงานที่จัดขึ้น การแสดงความสำคัญของงาน การฝากข้อคิด ข้อแนะนำ หรือ ข้อสังเกต การแสดงความหวังว่างานจะเป็นประโยชน์  การขอบคุณผู้จัดและผู้สนับสนุนงาน การกล่าวเปิด และการอวยพรให้การดำเนินงานสำเร็จ รวมทั้งอวยพรแก่ผู้มาร่วมงาน
เช่นเดียวกัน คำกล่าวของประธาน ในพิธีปิดการฝึกอบรม ปิดการประชุม หรือปิดการสัมมนาจะมีสาระสำคัญเป็นขั้นตอน เรียงตามลำดับ เหมือนคำกล่าวของประธานในพิธีเปิด เพียงแต่เปลี่ยนจาก "เปิด" มาเป็น "ปิด" และเพิ่ม การแสดงความยินดี และพอใจในผลสำเร็จของการฝึกอบรม การประชุม หรือการสัมมนานั้น ดังนี้
  1. คำขึ้นต้น
 2. การแสดงความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาทำพิธีนี้
 3. การแสดงการชื่นชม เห็นด้วย หรือสนับสนุน
 4. การแสดงความสำคัญของงานที่จัดขึ้น
5. การฝากข้อคิด ข้อแนะนำ หรือ ข้อสังเกต
6. การแสดงความหวังว่างานนี้จะเป็นประโยชน์
 7. การขอบคุณผู้จัดและผู้สนับสนุนงานนี้
 8. การกล่าวเปิด
9. การอวยพรให้งานสำเร็จ และอวยพรแก่ผู้ร่วมงาน
ข้อเสนอแนะ

เพื่อนๆมีการนำเสนอที่น่าสนใจมากคะ เพื่อนๆนำเสนองานพร้อมกับให้ทำกิจกรรมที่เพื่อนๆนำทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆและความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
นางสาว เจนจิรา อร่ามศรี 55113400154

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น